นโยบาย chevron_right

คาร์บอนคุมได้ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero)

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ลดความเสี่ยง ลดต้นทุนการจัดการด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นจากการมีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงาน กทม.เป็นผู้นำร่องจากกิจกรรมที่สามารถเห็นผลได้จริง

 

รายละเอียด

43.71 ล้านตัน คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กรุงเทพฯ ปล่อยออกมาในปี 2561 เพียงปีเดียว 

และหากขาดมาตรการจัดการ คาดว่าภายในปี 2573 กรุงเทพฯ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งนั่นเท่ากับว่าความเสี่ยงด้านภัยพิบัติธรรมชาติจะตามมาด้วย เช่น มีการคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับความเสียหายกว่า 16.85 ล้านล้านบาท จากภัยพิบัติน้ำท่วมระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้คุณภาพน้ำประปาลดลง และคลื่นความร้อนจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 36°C ต้นตอของก๊าซเหล่านี้มาจากกิจกรรมหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาคอาคาร ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงการจัดการขยะอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล

ดังนั้น กทม.จะพัฒนาโครงการ กทม.ปลอดคาร์บอน (BMA Net Zero) เพื่อเป็นแบบอย่างการเอาจริงเรื่องโลกร้อนให้กับองค์กรอื่นๆ โดยใช้หลักการคำนวณ ลด ชดเชย (CRO) ดังนี้

‘คำนวณ’ (C–Calculate) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทรัพย์สิน กทม. 
  - อาคาร เช่น ศาลาว่าการ 2 แห่ง สำนักงานเขต 50 เขต 

  - ยานพาหนะ เช่น รถเก็บขยะ รถสังเกตการณ์เทศกิจ รวมถึงรถของผู้บริหาร

 ‘ลด’ (R–Reduce) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย

  - ติดตั้งพลังงานทดแทน  

  - ทาหลังคาสีขาวสำหรับอาคารเพื่อช่วยสะท้อนความร้อน 

  - ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพทางพลังงาน 

  - ผลักดันและสนับสนุนเรื่องการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV รวมทั้งปรับโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการเดินทางโดยรถสาธารณะ

 ‘ชดเชย’ (O–Offset) ส่งเสริมโครงการที่เก็บกักหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่ โดย

  - เพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือป่าโกงกาง โดยพื้นที่สีเขียว 1 ไร่ ที่มีต้นไม้ประมาณ 200 ต้น สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 3 ตันต่อปี หากสำนักงานเขตแห่งหนึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก 200 ตันต่อปี เท่ากับจะต้องใช้พื้นที่ 67 ไร่ในการช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้น

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Controllable carbon: Carbon-free Bangkok (BMA Net Zero)

 

What will Bangkok residents get?

  - Reduction of risk and natural disaster management cost from the increase of greenhouse gases by BMA-pioneered activities with discernable outcome

 

Details

43.71 million tons is the volume of Bangkok’s greenhouse gases emission in one single year of 2018. Without proper management measures, it is expected that by 2030 the number will increase by more than 10 million per year, resulting in natural disaster risks. For example, it is predicted that Bangkok’s flood damages will cost more than THB 16.85 trillion and rising seawater levels will reduce the quality of waterwork supply and heat waves will push Bangkok’s average temperatures towards 36 degrees Celsius. Sources of these gases are activities generated by many sectors, including the construction, transportation and industry sectors, as well as unsanitary waste management.

 

The BMA plans to develop Carbon-free Bangkok (BMA Net Zero) project as a prototype of strict management of global warming for other organizations, with the Calculate, Reduce and Offset  (CRO) principle as follows:

 

'Calculate' (C–Calculate) the volume of BMA premises’ greenhouse gas emissions:

  - Buildings, e.g. City Halls, 50 district offices;

  - Vehicles, e.g. garbage collection trucks, municipal officers’ patrol vehicles and executives’ cars.

 

 'Reduce' (R–Reduce) the volume of greenhouse gas emissions by:

  - Installing renewable energy system;

  - Painting BMA building roofs white for better heat reflection;

  - Using energy-efficient equipment;

  - Promoting transition to electric vehicles (EV) and restructuring to support travel by public transportation.

 

 'Offset' (O–Offset) Promoting the development of areas which can help capture or absorb the remaining greenhouse gases by:

 - Adding green and mangrove areas, as one ​​1 Rai of green area can help absorb about 3 tons of greenhouse gases per year: if one district office emits 200 tons of greenhouse gas per year, 67 Rai are required to help absorb these greenhouse gases.