นโยบาย chevron_right

นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - สุขภาพของคนกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายทางเพศดีขึ้น เนื่องจากการบริการทางสุขภาพทำให้ผู้ใช้บริการไม่กังวลเรื่องการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตร และเชื่อมั่นในการรักษาและการให้คำแนะนำทางสุขภาพแบบเฉพาะทาง

 

รายละเอียด

คลินิกสาธารณสุขเฉพาะทางด้านสุขภาพของกลุ่ม LGBTQI+ ในโรงพยาบาลของรัฐมีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือคลินิกสุขภาพเพศของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี 

นอกจากนี้หนังสือยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย โดย ชเนตตี ทินนาม โกสุม โอมพรนุวัฒน์ และรัตนา ด้วยดี  ระบุว่าการให้บริการทางการแพทย์กับกลุ่ม LGBTQI+ ยังขาดความรู้และความเข้าใจในประเด็นอ่อนไหว ระบบการรับบริการด้านสุขภาพยังคงไม่เป็นมิตรกับคนข้ามเพศ บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนยังคงขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางเพศ รวมถึงยังมีอคติทางเพศที่ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรค เป็นต้น

ประเด็นเหล่านี้ส่งผลกับประสบการณ์ในการเข้ารับบริการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น เมื่อกลุ่มคนข้ามเพศต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็จะไม่ถูกส่งไปรวมห้องกับเพศปัจจุบันของตนเอง 

ดังนั้น กทม.จะนำร่องเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ในประเด็นจำเพาะ เช่น บริการจิตวิทยาการปรึกษา การใช้ยา-ฮอร์โมน และการผ่าตัดแปลงเพศของกลุ่มคนข้ามเพศในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หรือโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์ 

 

*อัพเดตล่าสุดวันที่ 10 มีนาคม 2565
 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก) 

 

Pilot LGBTQI+ Clinic

 

What will Bangkok residents get?

  - Healthcare service for LGBTQI+ people in Bangkok will be improved by removing concerns about unfriendly treatments towards people of nonbinary genders and by giving specific, specialized health advice.

 

Details

Today, there are only two clinics in public hospitals specializing in healthcare service for LGBTQI+ people, which are Gender Health Clinic at Chulabhorn Hospital, the Thai Red Cross Society, and Gender Variation Clinic (or Gen V Clinic) at Ramathibodi Hospital.

Furthermore, according to Strategies to LGBTIQN+ Gender Health in Thailand, authors Chanetti Tinnam, Kosum Ombhornuwat, and Rattana Duaydee point out that medical services in Thailand still lack knowledge and understanding in sensitive issues regarding LGBTQI+ wellbeing, that the healthcare system is generally unwelcoming for LGBTQI+ people, that some medical personnel lacks understanding and skills when it comes to gender variants, and that some still hold gender biases that affect medical diagnoses.

All of these issues have considerable implications on the experience gender variants have to undergo when receiving medical services. For instance, a transgender receiving treatment might be denied by the hospital to be admitted to the ward of their current sex.

 

Hence, the BMA will initiate a pilot project giving appropriate specialized medical advice such as in hormonal drug intake, gender affirmation surgery in Public Health Service Centers (PHSC) or in hospitals under the supervision of the BMA, in order to create welfare state which includes everyone regardless of gender.

 

*Last updated March 10, 2022