นโยบาย chevron_right

สวน 15 นาที ทั่วกรุง

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ได้พื้นที่สาธารณะที่ทำกิจกรรมได้กระจายตัวอยู่ทุกที่ และสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 15 นาที

 

รายละเอียด

ปัจจุบันการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่ง (outdoor public space) หรือที่ทำกิจกรรมออกกำลังหรือพักผ่อนหย่อนใจได้มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด 

ทั่วทั้งกรุงเทพฯ มีสวนสาธารณะหลัก 40 แห่ง [1] นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ ที่ใช้งานได้กระจายอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามปรากฏข้อมูลไม่แน่ชัดเนื่องจาก  กทม.ทำฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวโดยจัดกลุ่มเป็นสวน 7 ประเภท ได้แก่ สวนเฉพาะทาง สวนชุมชน สวนถนน สวนระดับเมือง สวนระดับย่าน สวนหมู่บ้าน สวนหย่อมขนาดเล็ก สวนไม่ได้ระบุประเภท รวมพื้นที่ 41,327,286.489 ตร.ม. [2] 

การจัดกลุ่มพื้นที่สีเขียวในลักษณะนี้ไม่สามารถแยกได้ว่าสวนไหนใช้งานได้หรือไม่ได้ ตัวอย่างเช่น สวนถนน นับรวมสวนไหล่ทาง สวนเกาะกลาง หรือ สวนหมู่บ้าน ซึ่งประชาชนอาจไม่สามารถเข้าใช้ได้หรือเข้าใช้ได้น้อย แต่มีพื้นที่รวมกันมากถึง 18,602,682.9 ตร.ม. [3] คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่สีเขียวทั้งหมด

เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่พักผ่อนได้ใกล้บ้าน กทม. จึงมีนโยบายทำให้ประชาชนเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเปิดโล่งได้ด้วยการเดิน ดังนี้

การเพิ่มพื้นที่ใหม่

  - กำหนดเป้าหมายการเข้าถึงของประชาชนภายในระยะ 800 เมตร หรือระยะการเดิน 10-15 นาที 

  - หาพื้นที่พัฒนา pocket park ขนาดเล็กในแต่ละพื้นที่โดยศึกษาพื้นที่ของทั้ง ราชการ และเอกชน อาทิ สถานที่ราชการ แปลงที่ดินว่าง พื้นที่รอการพัฒนา พื้นที่รกร้างซึ่งติดขัดข้อกฎหมาย พื้นที่จุดบอดต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ระยะถอยร่น พื้นที่ว่างหน้าอาคารขนาดใหญ่ รวมถึงการเปิดให้ประชาชนร่วมเสนอพื้นที่ศักยภาพน่าพัฒนา

  - อาศัยกลไกทางภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจูงใจให้เอกชนมอบที่ดินให้ กทม.พัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่องดเว้นการเสียภาษี

  - เปิดพื้นที่นอกอาคารของสถานที่ราชการ อาทิ โรงเรียน สำนักงานต่างๆ ให้ประชาชนเข้าใช้ได้บางเวลา

  - ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะบนที่ดินเอกชน (privately owned public space: POPS) ผ่านมาตรการลดหย่อนภาษีจากการสร้างสาธารณประโยชน์ การหาภาคีในการร่วมพัฒนาพื้นที่ หรือการกำหนดข้อตกลงในเชิงการบริหารจัดการ เช่น ดูแลต้นไม้และทำความสะอาดพื้นที่โดย กทม. หรือการให้บริการสาธารณูปโภคโดยภาครัฐ เป็นต้น

ควบคู่กับการเพิ่มจำนวนสวน กทม.จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสวน โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลและจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อการพักผ่อนและการสันทนาการของประชาชน

การพัฒนาพื้นที่เดิม

  - พัฒนาลานกีฬาทั้ง 1,034 แห่งให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เนื่องด้วยเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีการกระจายตัวมากที่สุด และกระจายตัวเข้าไปในแหล่งชุมชนอยู่เดิมแล้ว

  - เพิ่มมิติด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพื้นที่เดิมเช่นลานกีฬา ด้วยการเพิ่มไม้พุ่ม ไม้ประดับ หรือสวนแนวตั้ง เพื่อเพื่มมิติการใช้งาน และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น

การพัฒนาฐานข้อมูล

  - ปักหมุดทำฐานข้อมูลสวน 15 นาที โดยเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสวนที่ประชาชนสามารถใช้งานได้จริง และเปิดเป็น open data

 

*อัพเดตล่าสุด วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

15 Minute Pocket Parks throughout the City

 

What will Bangkok residents get? 

  - Green spaces throughout Bangkok are easily accessible, just by a 15-minute walk.

 

Details

Nowadays, there is limited access to outdoor public spaces or physical exercise or recreation spaces.

There are 40 main parks in Bangkok [1]. There are some other green spaces. However, the data is not very clear. BMA has created a green space database that categorizes parks into seven categories: special-purpose parks, community parks, street parks, city parks, district parks, neighborhood parks, pocket parks, and unspecified parks. The total area is 41,327,286.489 square meters [2].

This kind of categorization cannot differentiate usable and unusable parks. For example, street parks (including pavement gardens, gardens on the street isles) and most neighborhood parks are not very accessible. The total area of these parks is as much as 18,602,682.9 square meters [3], making up almost half of the total green space.

 

To ensure that people can access recreational spaces near their homes, the BMA has a policy to increase access to outdoor parks within walking distance.

Adding New Areas

  - The goal is to build parks that people can access within 800 meters or 10-15 minute walking distance.

  - Finding areas to build pocket parks by exploring government and private areas, such as government venues, empty land plots, areas to be developed, empty areas with legal limitations, blind spots of the infrastructure, shortened distance areas, empty areas in front of big buildings, and giving people opportunities to propose potential areas.

  - Using land and building tax incentives so that the private entities are willing to give land to BMA to develop as green spaces.

  - Opening spaces in front of government venues, such as schools and offices, for people to use from time to time.

  - Promoting the development of privately owned public space (POPS) through tax reduction measures for building places for the public benefits, finding partners in developing the areas, or determining terms on management, such as tree maintenance and cleaning by BMA or public utilities services by the government.

 

In parallel with adding more parks, BMA also values safety in these parks. There will be officers who take care of and manage the environment of these parks to make sure that they are suitable for people's relaxation and recreation.

Development of Existing Areas.

  - Improving the 1,034 community sports grounds to ensure that they are up to the standard (พัฒนาลานกีฬาทั้ง 1,034 แห่งให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ) because they are green public spaces that are already available in many communities.

 - Integrate the green quality into the existing sports grounds such as shrubs, small plants and wall garden to improving environment and use of the existing public space.

Database Development

  - To build an open database on 15-minute parks, which collects data about parks that people can use.

 

*Last updated on May 3, 2022

based on public suggestions.