นโยบาย chevron_right

พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ลานกีฬาสภาพเหมือนใหม่ทั่วกรุง

  - มีส่วนร่วมในการคัดเลือกกิจกรรมและกีฬาที่จะให้มีในลานกีฬาใกล้บ้าน

  - มีพื้นที่สาธารณะเพื่อการออกกำลังกายมากขึ้น

  - มีพื้นที่ผ่อนคลายความเครียด พบปะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้คน

 

รายละเอียด

ลานกีฬาเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการสร้างเสริมสุขอนามัยของประชาชนและชุมชนขนาดย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่สร้างเสริมสุขภาวะและกิจกรรมชุมชน ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีลานกีฬาทั้งหมด 1,034 แห่ง แบ่งเป็นลาน A ขนาดใหญ่ จำนวน 128 ลาน, ลาน B ขนาดกลาง จำนวน 182 ลาน, ลาน C ขนาดเล็ก จำนวน 724 ลาน [1] [2] ถึงจะกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ แต่หลายแห่งมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ บางแห่งไม่พร้อมที่จะใช้งาน

ดังนั้น กทม.จึงต้องพัฒนาคุณภาพลานกีฬาให้เป็นพื้นที่สาธารณะคุณภาพ

  - พัฒนาลานกีฬาต้นแบบ 180 แห่ง 180 แขวง ทั่วกรุงเทพฯ ภายใน 100 วัน และขยายผลให้ครบ 1,034 ลานทั่วกรุง

  - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสอดส่องดูแล และร่วมกันดูแลรักษาและฟื้นฟูลานกีฬาทั้ง 1,034 ลานทั่วกรุง

  - จัดทำโครงการการพัฒนาลานกีฬาร่วมกับเอกชนในพื้นที่

รูปแบบการพัฒนา

  - ลานกีฬาในโรงเรียน = เปิดโรงเรียนให้คนในชุมชนเข้ามาใช้งานพื้นที่ได้ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนและวันหยุด ปรับเพิ่มเติมความเป็นพื้นที่สาธารณะ (เริ่มต้นจากในโรงเรียนสังกัด กทม.)

ประเภทรายละเอียด
ลานประเภท A

Landscape: Green Wall และ  Hanging Garden ไม้พุ่มขนาดกลาง ไม้ใบในร่ม (กรณีอยู่ภายใต้โครงสร้างหลังคา หรือร่มเงาจากอาคาร)

Hardscape: CCTV  ไฟส่องสว่าง เครื่องเล่นเด็ก เครื่องบริหารร่างกาย พัฒนาลานกีฬาคอนกรีต เพิ่มความหลากหลายของกีฬา ที่นั่งพัก ระบบระบายอากาศ

ลานประเภท B

Landscape: Green Wall และ  Hanging Garden ไม้พุ่มขนาดกลาง ไม้ใบในร่ม

Hardscape: CCTV ไฟส่องสว่าง เครื่องเล่นเด็ก เครื่องบริหารร่างกาย ที่นั่งพัก ระบบระบายอากาศ

ลานประเภท C

Landscape: Green Wall

Hardscape: CCTV ไฟส่องสว่าง เครื่องบริหารร่างกาย ที่นั่งพัก ระบบระบายอากาศ

   

  - ลานกีฬาในชุมชนและหมู่บ้าน = พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมชุมชน สร้างบรรยากาศเปิดรับผู้คน ส่งเสริมการออกกำลังกายทั้งแบบช้า และเร็ว เพิ่มเติมพื้นที่พบปะทางสังคม ผ่อนคลาย และสามารถใช้งานได้ในทุกเวลา

ประเภทรายละเอียด
ลานประเภท A, B

Landscape : ต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้ประดับ พืชผักสมุนไพร ลานสนามหญ้า

Hardscape: CCTV ไฟส่องสว่าง เครื่องเล่นเด็ก เครื่องกีฬาบริหารร่างกาย พัฒนาลานกีฬา เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรม เพิ่มร่มเงา ที่นั่งพักและโต๊ะสำหรับการพบปะห้องน้ำสาธารณะ

ลานประเภท C

Landscape: พืชผักสมุนไพร ไม้พุ่ม ไม้ประดับ สนามหญ้าขนาดเล็ก

Hardscape: CCTV ไฟส่องสว่าง เครื่องเล่นเด็ก เครื่องเล่นบริหารร่างกาย ลาน ASPHALT ขนาดเล็ก เพิ่มร่มเงา ที่นั่งพักและโต๊ะสำหรับการพบปะ

 

  - ลานกีฬาใต้ทางด่วน = พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมในระดับย่าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวจากพื้นที่ดาดแข็งใต้ทางด่วน สร้างสภาวะน่าสบายจากพื้นที่ปิดล้อมเดิม

ประเภทรายละเอียด
ลานประเภท A, B, C

Landscape: ต้นไม้ใหญ่ - เล็กที่ไม่เป็นทรงพุ่มหนาแน่น ไม้พุ่มเล็ก ไม้ประดับ ลานสนามหญ้ากีฬา ไม้ใบในร่ม Green Wall และ Hanging Garden ระบบระบายอากาศ ช่องเปิดโล่ง

Hardscape: ไฟแสงสว่าง CCTV ไฟตกแต่ง Hanging decoration เครื่องเล่นเด็ก เครื่องบริหารร่างกาย ลานคอนกรีต ลาน ASPHALT ร่มเงา ที่นั่งพักและโต๊ะ ห้องน้ำสาธารณะ

 

*อัพเดทล่าสุดวันที่ 14 พฤษภาคม 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

[2] รายละเอียดประเภทลานกีฬา

หมวดรายละเอียด (จำนวนแห่ง)
ประเภทAเนื้อที่มากกว่า 400 ตรว. มีคนใช้งานมากกว่า 100 คน / วัน
Bเนื้อที่น้อยกว่า 400 ตรว. มีคนใช้งานน้อยกว่า 100 คน / วัน
Cเนื้อที่ 20 - 199 ตรว.
ที่ตั้ง1ลานกีฬาในวัดและโรงเรียน
2ลานกีฬาในชุมชนและหมู่บ้าน
3ลานกีฬาใต้ทางด่วน
4ลานกีฬาพื้นที่สาธารณะและสวนสาธารณะ

 

Development of 1,034 sports grounds in cooperation with people and private sectors in the area

 

What will Bangkok residents get?

  - Sports grounds in like-new condition city-wide

  - Participation in the selection of activities and sports for sports grounds near home

  - More public spaces for exercise

 

Details

Sports grounds are small public spaces for residents’ and communities’ health improvement. They scatter around the city to increase public access to health promotion and community activities. Currently, there are a total of 1,034 sports grounds [1] all across Bangkok. The quantity may not be so important as the quality though: some sports grounds are not completely functional and others not ready to be used.

 

BMA then needs to develop its sports grounds to become quality public spaces by:

  - Developing 180 prototype sports grounds in 180 sub-districts throughout Bangkok within 100 days and continuing to a total of 1,034 sports grounds;

   - Optimizing the usage patterns of 1,034 sports grounds in Bangkok to organize diverse activities, such as supporting aerobics instructors, increasing the variety of sports and trainers in accordance with local people’s needs;

  - Promoting community participation in surveillance, maintenance and restoration of all 1,034 sports grounds across Bangkok using the models and examples of successful community sports such as Phat Sports Ground in Ratchathewi district to develop from;

  - Organizing a sports ground development project with local private agencies.