นโยบาย chevron_right

เปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ได้พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น

  - ได้พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางสะดือเมือง

  - เป็นโมเดลของการสร้างพื้นที่ประเภท Third Place ในระดับเมือง

 

รายละเอียด

ในปี 2555 แนวคิดเรื่องการปรับศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้าให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองได้ปรากฏขึ้น [1] เนื่องจากมีแผนที่จะย้ายศาลาว่าการไปยังดินแดง แต่การก่อสร้างที่ล่าช้าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โครงการดังกล่าวถูกพับลง 

ปัจจุบันแม้ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 2 ดินแดงจะเปิดใช้มากว่า 5 ปีแล้วก็ตาม ส่วนราชการบางส่วนยังคงทำงานอยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 1 เสาชิงช้าอยู่เช่นเดิม

ส่วนลานคนเมืองที่โดยลักษณะทางกายภาพเป็นลานที่เหมาะสมกับการเป็นพื้นที่สาธารณะ แต่ในทางปฏิบัติมักถูกล้อมรั้ว อีกทั้งพื้นที่ส่วนหนึ่งยังใช้เป็นที่จอดรถของหน่วยงานกทม. ทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะบริเวณดังกล่าวไม่เกิดขึ้นจริง ทั้งที่จริงแล้วเจตนารมณ์การทำให้ศาลาว่าการเป็นพื้นที่สาธารณะมีมาตั้งแต่เริ่มออกแบบในปี 2498 [อ้างอิงหน้า 14]

ดังนั้น เพื่อให้พื้นที่นี้เกิดประโยชน์สูงสุด กทม.จะดำเนินการเปลี่ยนศาลาว่าการ 1 เสาชิงช้า ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ที่เล่าเรื่องเมืองกรุงเทพฯ ในทุกมิติ โดย

  - ครอบคลุมลักษณะทางกายภาพและภูมิศาสตร์ ประเด็นของการพัฒนาเมือง เล่าเรื่องย่าน ที่มาที่ไปของชื่อย่าน รูปแบบสถาปัตยกรรม อิทธิพล วิถีชีวิตทั่วไป ชาติพันธุ์  ประวัติศาสตร์ของสามัญชน ฯลฯ โดยจะออกแบบการเล่าเรื่องให้เกิดประสบการณ์ท่ีแตกต่าง สร้างประสบการณ์เฉพาะตามบริบทของพื้นที่ 

  - ร่วมมือกับมืออาชีพในการทำพิพิธภัณฑ์ เช่น กรมศิลปากร สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และเอกชน ทำงานร่วมกับผู้คนกรุงเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน โบราณคดี ศิลปะ นักออกแบบ ฯลฯ เพื่อให้ได้พิพิธภัณฑ์ที่ครบถ้วนทางด้านเนื้อหาและถูกออกแบบเรื่องราวและประสบการณ์จากนักออกแบบ และร่วมมือกับมืออาชีพด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการปรับปรุงออกแบบและอนุรักษ์อาคารศาลาว่าการกรุงเทพฯ อาคารที่มีรูปแบบศิลปะอันทรงคุณค่าและเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่เล่าเรื่องราวของเมือง ณ วันแรกสร้างได้อย่างดีเลิศ

  - พิพิธภัณฑ์ต้องมีฟังก์ชั่นที่นอกจากบอกเล่าเรื่องราวการจัดแสดงผ่านนิทรรศการต่างๆ ต้องส่งเสริมให้มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับการแลกเปลี่ยน พูดคุยต่างๆ อย่างโอบรับ ทั้งรูปแบบกิจกรรม และรูปแบบสภาพแวดล้อมของพิพิธภัณฑ์

นอกจากนี้จะจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งของศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้ารวมถึงลานคนเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะเปิดให้ประชาชนเข้าใช้ เช่น พื้นที่แสดงความคิดเห็น จัดกิจกรรมการประชุม การหารือสร้างสรรค์นวัตกรรมเมือง การแสดงศิลปะ การแสดงดนตรี ฯลฯ เป็นต้น

 

*อัพเดตล่าสุด วันที่ 29 มีนาคม 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Turning the BMA Bangkok City Hall and Lan Khon Mueang Town Square into Bangkok City Museum and Creative Space

 

What good will Bangkok people get?

  - Bangkok City Museum and more knowledge about Bangkok.

  - A new public space for creativity at the heart of the city

 

Details

In 2012, the idea of modifying BMA Bangkok City Hall and the Giant Swing into a city museum was drafted [1] because the BMA Bangkok City Hall had plans to be moved to Din Daeng. However, there has been little progress on this project, probably because the construction of the new city hall was delayed.

Although BMA Bangkok City Hall 2 in Din Daeng has been opened for more than five years, some governmental matters are still being run at the BMA Bangkok City Hall 1 near the Giant Swing.

 

Lan Khon Mueang Townsquare is physically suitable for use as a public space. In practice, however, it is usually surrounded by a fence. Some parts of the area are used as a parking space for BMA agencies. As such, the land use of the public space is inappropriate despite its intended use as a public area since 1955 [refer to page 14 อ้างอิงหน้า 14].

 

Therefore, to optimize the use of this area, BMA will turn BMA Bangkok City Hall 1 near the Giant Swing, which is located at the heart of Bangkok city, into the Bangkok City Museum that tells the stories of Bangkok in all dimensions.

  - The exhibitions in the museum cover physical and geographical features of Bangkok, urban development issues, local stories, etymology of neighborhood names, architecture, influence, way of life, and history of commoners. The narration will be designed to provide a unique experience based on local contexts.

  - The BMA will coordinate with museum-related agencies, such as the Fine Arts Department, the National Discovery Museum Institute (NDMI), and private organizations, and work with Bangkok people, historians, local sages, archaeologists, artists, and designers. The aim is to have a museum with comprehensive content. Stories and experience are shaped by designers. Architectural professionals will be asked to improve the design and conserve the BMA Bangkok City Hall, the building with artistic and historical value that excellently tells the story of city from the first day of its establishment.

 

In addition, the BMA will allocate some parts of the BMA Bangkok City Hall, the Giant Swing, and Lan Khon Mueang Town Square as open public space, such as opinion sharing space, assembly area, talks about urban innovation creation, art shows, and music performances.

 

*Last update: 16 March 2022

เปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่กิจกรรม พื้นที่การเรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน
Open schools on holidays as activity and learning spaces for students and community members
สร้างสรรค์ดี เรียนดี
ดูแลห้องสมุดชุมชน บ้านหนังสือ ให้มีความทันสมัยน่าใช้งาน
Maintenance of community libraries and Book Houses, making them modern and usable.
สร้างสรรค์ดี เรียนดี
ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
Enhance sports centers, Happiness Centers for All Ages, and youth centers to meet public needs.
สร้างสรรค์ดี สุขภาพดี
ห้องสมุดออนไลน์ (e-Library) อ่านอีบุ๊กได้จากทุกที่
E-Library: Read e-Books from anywhere
สร้างสรรค์ดี เรียนดี
เพิ่มฟังก์ชั่นให้ห้องสมุดเป็น Co-working Space
Increase the function of libraries by using them as co-working spaces
สร้างสรรค์ดี เรียนดี