นโยบาย chevron_right

ขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตลอดช่วงชีวิต

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - สภาพแวดล้อมเมืองอยู่ในสภาพดี ไม่มีผลกระทบจากกิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

  - กทม.มีฐานข้อมูลผู้ประกอบกิจการที่สามารถตรวจประเมินและกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  - ลดความเสี่ยงที่สัตว์เลี้ยงสูญหาย และเหตุที่เจ้าของปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเป็นสัตว์จร
 

รายละเอียด

นโยบายการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงและฝังไมโครชิป เคยดำเนินการตั้งแต่ช่วงปี 2550 ภายหลังการออกข้อบัญญัติเรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข ซึ่งผลปรากฏว่าระยะเวลาผ่านมากว่า 15 ปี กทม.ดำเนินการฝังชิปได้จำนวนน้อยมาก เนื่องจากไม่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและบังคับให้ปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน กทม.มีศูนย์บริการที่เป็นคลินิกสัตวแพทย์จำนวนจำกัด สามารถให้บริการได้ไม่เพียงพอ

การฝังชิปสัตว์เลี้ยงเกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนทั้งผู้ประกอบการ เจ้าของ และสังคมส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ป้องกันสัตว์เลี้ยงสูญหาย ป้องกันการปล่อยปละละเลยให้เป็นสุนัขและแมวจรส่งผลกระทบต่อคนอื่น และสามารถช่วยในการยืนยันตัวตน ส่งผลต่อการพัฒนาสายพันธุ์ ป้องกันการซื้อ-ขายผิดตัว และการประกวดในกลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยง

ดังนั้น กทม.จะดำเนินการ 3 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย 

  1. ออกตรวจตรา ขึ้นทะเบียน ดูแลกำกับกิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (ฟาร์มเลี้ยง) และร้านค้าจำหน่ายสัตว์เลี้ยง ที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลขึ้นทะเบียนของ กทม. ผ่านการดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  2. ร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการฟาร์มและร้านจำหน่าย คลินิกสัตวแพทย์เอกชน โรงพยาบาลสัตว์ ในการผลักดันการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดความเสี่ยงที่เจ้าของซื้อไปแล้วอาจปล่อยปละสัตว์เลี้ยงให้เป็นสัตว์จร ซึ่งเป็นการกระทำผิดที่สามารถดำเนินการตามกฎหมาย

  3. สัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวที่มีเจ้าของดูแลในปัจจุบัน กทม.จะดำเนินการทยอยเปิดขึ้นทะเบียน โดยเริ่มจากการเปิดรอบแสดงความจำนงและขึ้นทะเบียนฝังชิป โดยการขึ้นทะเบียน กทม.จะช่วยสนับสนุนและร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการ และดำเนินตามนโยบาย รวมถึงการยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนสำหรับสัตว์เลี้ยงเกิดใหม่ในอนาคต   
 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Lifetime registration of pets

 

What will Bangkok residents get?

  - Good urban environment without impacts from pet-related affairs

  - BMA’s database of operators that can be effectively assessed and supervised

  - Decrease of pet loss risk and pet disownment reasons

 

Details

The pet registration and microchip implantation policy was first implemented in 2007 after the issuance of the ordinance on dog owning and disownment control. In the past 15 years, however, the BMA has performed a small number of implants: there is no continuity in its operation and serious enforcement of regulation. Meanwhile, the BMA is operating a limited number of veterinary service centers providing insufficient service.

 

Pet microchip implantation actually benefits all relevant sectors including entrepreneurs, owners and society at large. It can, for example, prevent pet loss and dog and cat disownment affecting  others as well as verify pet identity, resulting in better breed development, fewer chances for wrong buying and selling and more pet contests organized by pet lovers.

 

BMA plans to take the three actions as follows:

  1. To inspect, register and supervise pet-related businesses (breeding farms) and pet stores which are already required to be registered with BMA which oversees businesses that may be harmful to health;

  2. To promote cooperation between farm operators and pet distributors, private veterinary clinics and animal hospitals in pet registration at the initial stage. This is to reduce the risk of pet disownment, an illegal practice.

  3. To gradually register pets, namely dogs and cats currently with owners. BMA will gradually open the registration starting from the opening round of expressing intent and registering the chip by registration.  BMA will help support and cooperate with network partners to help reduce expenses for people. as an incentive to join the project and follow the policy including filing for registration of future newborn pets.