นโยบาย chevron_right

สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

 - ระยะสั้น - สภาพแวดล้อมเมืองดีขึ้น การจัดเก็บขยะทำได้สะดวกรวดเร็วจากการแยกประเภท ลดผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในด้านสุขอนามัย (กลิ่น) และการจราจรติดขัด (รถขยะเข้าจัดเก็บในชุมชน ซอยเล็ก และข้างถนน)

 - ระยะยาว - งบประมาณจากภาษีประชาชนที่ใช้ในการจัดเก็บขยะและการจัดการปลายทางมีจำนวนเงินน้อยลง สามารถเปลี่ยนไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นของคนกรุงเทพฯ เช่น พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพิ่มสวัสดิการการรักษา และเพิ่มทุนการศึกษาหรือจัดซื้ออุปกรณ์ทันสมัย

 

รายละเอียด

กว่า 10 ปีที่ผ่านมา กทม.มุ่งเน้นการจัดการขยะที่ปลายทางเป็นสำคัญ ทั้งการเก็บขยะไม่ให้ตกค้าง และการจัดการที่โรงคัดแยกขยะมูลฝอยทั้ง 3 แห่งหลัก (หนองแขม อ่อนนุช สายไหม) โดยระยะยาว กทม.มีเป้าหมายลดการจัดการแบบฝังกลบ สู่การเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างและผลักดันหลายแห่ง

กทม.ทุ่มงบประมาณในการดูแลรักษาความสะอาด และบริหารจัดการขยะต่อปีสูงกว่า 12,000 ล้านบาท สวนทางกับงบประมาณที่ช่วยดูแลและส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางที่มีงบประมาณน้อย และดำเนินการอย่างไม่ต่อเนื่อง

ดังนั้น กทม.จะต้องมุ่งเน้นต่อยอดการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ทั้งการคัดแยกอย่างถูกวิธีและการลดปริมาณขยะ (zero waste to landfill) ต่อยอดและร่วมมือกับภาคีหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่เดิมและสร้างภาคีเครือข่ายใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งรูปแบบธนาคารขยะ ธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนโครงการร่วมมือระหว่างสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ให้ความสนใจและร่วมผลักดันแนวคิด Sustainable Development Growth (SDGs) และ BCG (Bio-Circular-Green Economy) 

การดำเนินการจะมุ่งเน้นพื้นที่นำร่องศักยภาพ โดยใช้เกณฑ์การมีเครือข่ายดำเนินการอยู่เดิม ที่ตั้งพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั้งเชิงเศรษฐกิจและที่อยู่อาศัยสำคัญ ตลอดจนพื้นที่ที่มีสถิติปริมาณขยะในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ 

โดยแบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 3 มิติดังนี้

ต้นน้ำ

  - แยกขยะต้นทางด้วย 3 ประเภท 1) อินทรีย์ 2) รีไซเคิล 3) ทั่วไป โดยพิจารณาการควบคุมการแยก โดยการให้ถุงหรือถังแยกสี (นอกจากแยกแล้ว ถุง และ ถัง ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณการทิ้งขยะต่อวันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ได้ชำระค่าบริการกับ กทม. ไว้) รวมถึงสร้างคู่มือการแยกขยะในการประชาสัมพันธ์

  - สร้างแรงจูงใจให้กับผู้แยกขยะ โดย คืนปุ๋ยอินทรีย์ให้กับ ประชาชนที่ช่วยแยกขยะ และ เก็บค่าเก็บขยะเฉพาะขยะทั่วไป (อินทรีย์ และ รีไซเคิล ไม่เก็บ

  - ร่วมมือกับผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ตามหลักการ EPR หรือหลักการที่ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตไปยังช่วงชีวิตต่าง ๆ ของบรรจุภัณฑ์ [1]

กลางน้ำ

  - กำหนดวันในการเก็บขยะ จำแนกรถในการเก็บขยะอินทรีย์เศษอาหาร และขยะทั่วไป

ปลายน้ำ

  - เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานการจัดการของ กทม. ให้มีความพร้อมในการรับมือกับปริมาณขยะแต่ละประเภทที่จะเกิดขึ้นใน กทม. เช่น เครื่องจักรและระบบในการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยครอบคลุมทั้ง 3 ศูนย์ (หนองแขม สายไหม อ่อนนุช)​ และการเปลี่ยนขยะทั่วไปปนเปื้อนมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน RDF)

  - เพิ่มจุดรับทิ้งขยะ จุด Drop-off ขยะ Recycle ที่ประชาชนสามารถนำมาเปลี่ยนเป็นสิทธิประโยชน์ เช่น สะสมแต้มส่วนลด เพื่อใช้ร่วมกับสินค้าหรือบริการของเอกชน

  - จัดกระบวนการนำปุ๋ยไปให้กับสวนสาธารณะและเกษตรในเมือง (Urban farming)

 

*อัพเดตล่าสุดวันที่ 5 พฤษภาคม 2565

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Creating Waste Sorting Model and Developing Comprehensive Waste Sorting at the District Level


What will Bangkok residents get? 

  - Short-term - better city environment, fast and easy waste collection thanks to waste sorting, fewer effects on people in terms of hygiene (odor) and traffic congestion (garbage trucks collecting waste in communities, small alleys, and streets).

  - Long-term - Less budget spent for collecting waste and waste management; people's tax can be used to improve quality of life in other areas, such as developing the public transport system, increasing health benefits, increasing scholarships, or purchasing modern equipment.

 

Details

For more than a decade, the BMA has focused on downstream waste management by ensuring that there is no accumulated waste and operating the three main sorting plants (Nong Khaem, Onnut, and Sai Mai). In the long run, BMA aims to reduce landfilling and turn to refuse-derived fuel (RDF). Many RDF plants are being constructed.

BMA has spent a lot of budget of over Baht 12,000 million per year for cleaning and waste management. In contrast, upstream waste management requires less budget. However, nowadays, upstream waste management still lacks consistency.

 

Therefore, BMA must focus on improving upstream waste management through proper waste sorting and waste reduction (zero waste to landfill), continuing to work with the same partners, and extending new networks, such as waste banks, social enterprises, and cooperation projects with the private business enterprises that are interested in pushing the Sustainable Development Goals (SDGs) and Bio-Circular-Green Economy (BCG). 

The project will be piloted in areas with potential using the same network, economic and residential strategic areas, and areas with a significantly high waste. Initially, waste will be sorted into three categories.

Organic food waste - grouping areas to turn this waste into soil conditioners or fertilizers for parks and urban farming.

Recyclable waste - another way to earn income or return value to the operating agencies; working with manufacturers under the Extended Producer Responsibility (EPR) principles [1].

Contaminated general waste - after sorting waste, general waste can be collected and sent to industry factories or power plants as Refuse Derived Fuel (RDF), yielding benefits for the city and the economy and minimizing environmental impact. 

 

*Last updated on May 5, 2022