นโยบาย chevron_right

ตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวของรถและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - การเดินทางภายในเมืองคล่องตัวยิ่งขึ้น

  - ลดเวลาในการเดินทางบนท้องถนน

  - จากบ้านเดินทางไปเชื่อมต่อรถเมล์สายรองได้ใกล้ขึ้น ด้วยถนนสายรองที่ตัดใหม่และเพิ่มรถเมล์เข้ามาให้บริการ 

 

รายละเอียด

ระบบถนนในกรุงเทพฯ เป็นระบบที่มีซอยย่อยที่ตัน ลึก และห่างจากถนนสายหลักเป็นจำนวนมาก ซึ่งซอยย่อยเหล่านี้ก็จะมุ่งตรงมาเชื่อมต่อกับถนนสายหลักต่าง ๆ โดยไม่มีถนนสายรองเป็นตัวเลือกในการเดินทาง ทำให้เกิดพื้นที่เมืองลักษณะ superblock  ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหนึ่งของการจราจรติดขัดในปัจจุบัน

อีกทั้งระบบขนส่งมวลชนหลักในกรุงเทพฯ ยังอยู่บนถนนเส้นหลัก เมื่อไม่มีถนนสายรองที่ระบบขนส่งมวลชนรอง หรือ ระบบ feeder จะเดินรถได้ ทำให้ ประชาชนเลือกที่จะใช้รถยนต์มากกว่าขนส่งมวลชนเนื่องจากสะดวกกว่า เพราะระบบไม่สามารถรองรับการเดินทางตั้งแต่ต่อแรก (First Mile) ไปจนต่อสุดท้าย (Last Mile)  ได้

ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2556 จึงได้กำหนดถนนสายรองเพื่อทำให้พื้นที่เมืองลักษณะ superblock ของกรุงเทพฯ หมดไป โดยกำหนดถนนที่ต้องดำเนินการก่อสร้าง 136 สาย เป็นถนนสายรองมากถึง 102 สาย แต่จากการประเมินผลการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2558 

โครงการคมนาคมขนส่งสถานะโครงการ (จำนวน)ระยะทาง
รูปแบบถนน

เขตทาง 

(เมตร)

จำนวน

ก่อสร้าง

แล้วเสร็จ

อยู่ระหว่าง

ดำเนินการ

ยังไม่ได้

ดำเนินการ

รวม (กม.)

เริ่มดำเนินการ

แล้ว (กม.)

ร้อยละ
ถนนแบบ ก1219001929.6000.00
ถนนแบบ ข16830281191.3667.2035.12
ถนนแบบ ค20302118.4917.5795.02
ถนนแบบ ง3021081369.1738.8256.12
ถนนแบบ จ40715141.8737.8090.28
ถนนแบบ ฉ50101014.4014.40100
ถนนแบบ ช60202025.2525.25100
รวม136120115390.14201.0451.53

จากผลการดำเนินการจะเห็นว่า กทม. ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างถนนแบบ ก เลยแม้แต่สายเดียวจาก 19 สาย รวมถึงถนนแบบ ข ที่ดำเนินการไปเพียง 2 สายจาก 81 สาย [1]

ส่วนร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)  จึงมีความพยายามกำหนดถนนสายรองมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนรอง เพิ่มความคล่องตัว ทลาย superblock ให้หมดไปอย่างแท้จริง โดยได้เพิ่มถนนที่ต้องดำเนินการก่อสร้างเป็น 203 สาย โดยยังคงสัดส่วนความสำคัญของถนนที่ต้องดำเนินการก่อสร้างคือกลุ่มถนนแบบ ก และ ข ซึ่งเป็นถนนย่อย 4 ช่องจราจร ที่ต้องก่อสร้างมากถึง 161 สาย จาก 203 สาย [2]

รูปแบบถนนจำนวนถนน (สาย)
ผังเมืองรวมฯ 2556ร่างผังเมืองฯ ฉบับปรับปรุงที่ 4
ถนนแบบ ก1978
ถนนแบบ ข8383
ถนนแบบ ค312
ถนนแบบ ง2118
ถนนแบบ จ76
ถนนแบบ ฉ14
ถนนแบบ ช22
รวม136203

จากปัญหาการที่ กทม.ไม่สามารถดำเนินการสร้างถนนได้เนื่องด้วยต้องดำเนินการเวียนคืนที่ดินเพื่อสร้างหรือขยายถนนทั้งสายเดิมและสายใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชน 

 

ดังนั้น กทม.จะดำเนินการพัฒนาถนนทั้งการขยายและตัดเพิ่มให้สอดคล้องกับแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มดำเนินการกับถนนที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุดและดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมกับประชาชน เพื่อให้การคมนาคมของเมืองมีความคล่องตัว ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ทั้งถนนหนทางที่เพิ่มโครงข่ายขึ้นและโอกาสที่จะพัฒนารถเมล์สายรองเข้าสู่พื้นที่ที่ยังขาดเพิ่มเติม

 

*อัพเดตล่าสุด วันที่ 15 มีนาคม 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Build minor roads according to the city plan, increase the mobility of vehicle and the opportunity to have bus services on minor roads

 

What good will Bangkok people get?

  - Traveling within the city is more streamlined.

  - Reduced travel time on the road

  - Traveling from home to transit via minor bus lines is shorter because of new minor roads and more bus services.

 

Details

The road system in Bangkok is characterized by deep alleys with a dead end. Most alleys are usually far from main roads. These small alleys direct toward main roads without secondary roads as the alternative routes, resulting in a superblock city, which is cause of the current traffic problems.

Mass transit systems in Bangkok are located on main roads. Without secondary roads or the feeder system, most Bangkok people choose to use private cars instead of mass transits because the existing system is unable to support the commute from the first mile to the last mile.

Bangkok’s comprehensive town plan 2013 determines minor roads, making the superblock nature of the city disappear. There will be 136 new roads, and 102 of which are minor roads. Based on the assessment to comply with the Transportation Project attached to the Ministerial Regulation, however, Bangkok’s comprehensive town plan 2013 was put to effect in 2015.

 

[Table]

According to the past performance, BMA did not construct any Model A in all 19 roads. Model B was implemented only on 2 roads out of 81 [1].

The Draft the Bangkok City Town Plan (4th revision) attempts to define secondary roads rather than ever increase the secondary road network and increase mobility. This policy literally destroyed all superblocks by increasing the number of roads that need to be constructed to 203 roads, while still maintaining the importance of roads that need to be constructed, namely road model groups A and B, which are 4 sub-lane roads that need to be built up to 161 out of 203 roads [2].

 

[Table]

The fact that BMA cannot construct roads because the need to expropriate land to build new roads or expand existing roads will affect the people.

 

Therefore, BMA will develop road networks by expanding existing roads and constructing new roads according to the Transportation Project Diagram attached to the Ministerial Regulation enforcing Bangkok’s Comprehensive Town Plan. The development will start from the roads that have the least impact on the public. The implementation shall be implemented by having public participation. The development will lead to better traffic flow, new alternatives for commute, and more choices of road networks, and the opportunity to add the bus service to secondary roads where the services are still unavailable.

 

* Last update 15 March 202