นโยบาย chevron_right

สร้างย่านจักรยาน เดินทางได้ทั่วด้วยการปั่น (Bicycle Corridor)

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

- เกิดย่านที่เดินทางด้วยจักรยานได้จริง

 

รายละเอียด

2557 – 2559, กรุงเทพฯ ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางจักรยานรวม 48 เส้นทาง ระยะทาง 298 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็น 6 พื้นที่การใช้งาน 1) เส้นทางบนผิวจราจร 2) เส้นทางรวมบนทางเท้า 3) เส้นทางบนผิวจราจร – ร่วมบนทางเท้า 4) เส้นทางจักรยานบนไหล่ทาง 5) เส้นทางจักรยานเฉพาะ 6) เส้นทางจักรยานในสวน [1] 

อย่างไรก็ตามเส้นทางจักรยานยังไม่ได้รับการใช้งานจริงเท่าที่ควร ดังนี้

  1. ทางจักรยานหลายเส้นทางกลายเป็นที่จอดรถ เป็นช่องทางเดินรถร่วม เป็นย่านการค้า ฯลฯ ซึ่งอาจเกิดจากการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

  2. การดำเนินการทางกฎหมายยังไม่เข้มข้นพอจึงทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ถึงแม้จะเป็น ‘เส้นทางจักรยานเฉพาะ’ ที่แยกออกจากการระบบถนนก็ตาม 

  3. การพัฒนาทางจักรยานยังไม่ได้พัฒนาเป็นโครงข่าย 

  4. การพัฒนาโครงสร้างของพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการใช้จักรยาน เช่น ผ่านจุดตัดถนน ขาดจุดจอด ขาดแสงสว่าง มีสิ่งกีดขวาง เป็นต้น

ดังนั้น กทม.จะนำร่องพัฒนาย่านจักรยานในพื้นที่ที่มีทางจักรยานเฉพาะที่แยกออกจากระบบถนน ให้ย่านดังกล่าวสามารถใช้จักรยานเดินทางได้โดยทั่ว โดยจะดำเนินการดังนี้

  1. จุดตัดระหว่างทางจักรยานและทางรถยนต์ – ปรับปรุงจุดตัดทางจักรยานทั้งหมดให้เป็นทางม้าลาย พิจารณายกระดับเป็นเนินชะลอความเร็วแบบผิวบนแบนราบ (Flat topped speed) เสมอกับทางเท้า ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ปรับปรุงสิ่งขีดขวาง อาทิ ต้นไม้ ป้ายต่าง ๆ ฯลฯ ที่เป็นปัญหาต่อทัศนวิสัยของผู้ขับขี่บนถนนในการสังเกตเห็นจักรยาน ติดตั้งแถบชะลอความเร็วรถยนต์ ป้ายเตือนรถยนต์ที่ชัดเจน ทำสัญลักษณ์บนผิวจราจรแจ้งเตือน และแสงสว่างเพิ่มเติม

  2. ทางข้าม - สร้างทางข้ามถนนที่เหมาะสมต่อจักรยานและบริบทพื้นที่ ปรับปรุงสะพานลอยเดิมด้วยการติดตั้งร่องราง ส่วนทางข้ามอื่น ๆ ตรวจสอบปรับปรุงให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ทุกคนข้ามได้

  3. ผิวทาง - ปรับปรุงผิวทางให้เรียบ อาทิ ฝาท่อน้ำ ร่องรอยต่อถนน ร่องรางตัววีระบายน้ำ หมุดสะท้อนแสง ฯลฯ

  4. จุดจอดจักรยาน - จุดจอดจักรยานคุณภาพ ปลอดภัย เชื่อมต่อขนส่งสาธารณะ และพื้นที่อื่น ๆ โดยรอบ เช่น ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่าง ๆ โดยการสนับสนุนจาก กทม.

  5. เส้นทางจักรยาน – ทุกถนนซอยมีทางปั่น สร้างเส้นทางให้เป็นโครงข่าย เชื่อมโยงกัน

 

*อัพเดทล่าสุดวันที่ 26 เมษายน 2565

พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)