นโยบาย chevron_right

ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ได้มีส่วนร่วมกับย่านต่าง ๆ ตลอดทั้งปี ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน

  - ผู้บริโภคเข้าถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มตัวเลือกในการจับจ่ายใช้สอย

  - ผู้ประกอบการได้โอกาสเพิ่มช่องทางหารายได้ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ 

 

รายละเอียดนโยบาย 

แต่ละย่านของกรุงเทพฯ มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือในละแวกหนึ่ง มักมีสินค้า กิจกรรม หรือบริการที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แต่หลาย ๆ ที่ขาดการรวมกลุ่ม ในขณะที่บางแห่งขาดการประชาสัมพันธ์หรือกลไกจากภาครัฐสนับสนุน 

กทม. จึงจะส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (hard infrastructure) เช่น พัฒนาการเชื่อมต่อของย่านให้เข้าถึงได้ง่าย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมองค์ความรู้ ข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ (soft infrastructure) โดยตั้งต้นจากต้นทุนเดิมที่แต่ละละแวกมี เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของย่าน เช่น การสนับสนุนรวมกลุ่มของผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ การช่วยประสานงานกับสถาบันทางการเงินเพื่อหาสินเชื่อต้นทุนต่ำ ช่วยส่งเสริมการจัดการกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักลูกค้าและนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้จ่ายที่ย่าน (เช่น การจัด one day trip การจัดถนนคนเดิน) และการเสริมกิจกรรมจนกลายเป็น ‘ย่าน’ ที่แข็งแรง ดึงดูดผู้คนเข้ามาและเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

แนวทางการพัฒนา ได้แก่

  • ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy District)
  • ย่านธุรกิจ-เศรษฐกิจการค้า
  • ย่านรับจ้างผลิต OEM (Original Equipment Manufacturer)
  • ย่านสตรีทฟู้ด
  • ย่านที่เป็น Node สำคัญ
  • ย่านนวัตกรรม


*อัพเดตล่าสุดวันที่ 21 มีนาคม 2565 

พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Creating identities and boosting the economy of Bangkok’s 50 districts

 

What will Bangkok residents get?

  ⁃ Opportunities to be parts of Bangkok’s communities throughout the year, encouraging circular economy

  ⁃ More choices in the market allowing consumers to access new, creative products and services

  ⁃ New potential customers and markets for businesses

 

Details

Each of the Bangkok’s 50 districts has its own identity and character. That is, the local products, events and services in each neighborhood usually have similar characteristics; however, there are no events being organized in most locations, or there is the lack of public relation or governmental support.

 

The BMA, therefore, will provide support for both hard infrastructure i.e. creating easy access between each neighborhood and soft infrastructure by means of equipping the residents with appropriate legal knowledge and public relation skills.  By employing the existing resources in each locality, the BMA hopes to enhance the potential of each. Some of the projects include giving helps in connecting businesses with the local residents, collaborating with financial institutions to provide loans with low interest rates, promoting such activities to draw customers and tourists as one day trips or walking streets, and create a strong identity of “neighborhood” to create traffic and circular economy.

 

Examples of potential areas for neighborhood identity development

  • Creative Economy District
  • Business and Financial District
  • OEM District (Original Equipment Manufacturer)
  • Street food District
  • Major Node District
  • Innovative District

 

* Last updated on March 16, 2022

Improved according to public suggestions

พัฒนาป้ายท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ขนาดเหมาะสม ข้อมูลถูกต้อง
Make tourism signs throughout Bangkok to have suitable sizes and accurate information
สร้างสรรค์ดี เศรษฐกิจดี โครงสร้างดี
ขยายโอกาส ขยายช่องทาง ให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok)
Expanding opportunities and channels for Made in Bangkok (MIB) products
สร้างสรรค์ดี เศรษฐกิจดี
12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ
12 festivals across Bangkok throughout the year
สร้างสรรค์ดี เศรษฐกิจดี
ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch
Promote creative economy, push forward Hi-Tech and Hi-Touch
สร้างสรรค์ดี เศรษฐกิจดี
เพิ่มรถเมล์สายหลักและรอง ราคาถูกราคาเดียว
Increase bus service in main and minor lines at single and cheap fares
สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี เดินทางดี