นโยบาย chevron_right

ตรวจสอบและปรับปรุงทางข้ามทั้งกรุงเทพฯ ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ความปลอดภัยในการเดินเท้าเพิ่มมากขึ้น

  - กายภาพถนน ทางข้ามรูปแบบต่างๆ และสภาพแวดล้อมมีความเป็นมิตรต่อการเดินมากขึ้น

 

รายละเอียด

กรุงเทพฯ มีทางข้ามทั้งหมด 4,160 แห่ง แบ่งเป็นทางข้ามทั่วไป 3,500 แห่ง และทางข้ามบริเวณแยก 660 แห่ง [1] หากแบ่งตามโครงสร้างโครงสร้างพื้นฐานมีทางข้ามมีสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้าม 846 แห่ง ทางข้ามมีสัญญาณไฟทางข้ามชนิดกดปุ่ม 226 แห่ง [2] จากข้อมูลทั้ง 2 ชุดอาจกล่าวได้ว่ากรุงเทพฯ มีทางเท้าอีกว่า 3,088 แห่ง ที่ไม่มีสัญญาณไฟใด ๆ เลยซึ่งคิดเป็น 74% ของจำนวนทางเท้าทั้งหมด 

ที่ผ่านมาสำนักจราจรและขนส่ง กรุงเทพฯ (สจส.) มีนโยบายปรับปรุงทางข้าม 700 กว่าแห่งบริเวณโรงเรียนและโรงพยาบาล แต่เป็นเพียงการปรับปรุงแค่คุณสมบัติสีทางข้ามเท่านั้น [3]

ข้อมูลด้านอุบัติเหตุจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคนเดินถนนประสบอุบัติเหตุถึง 2,500 - 2,900 รายต่อปี โดยกว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่กรุงเทพฯ เฉลี่ย 900 รายต่อปี [4] 

 

เพื่อคุ้มครองสิทธิพื้นฐานในการเดินเท้าของประชาชนทุกคน กทม. จึงจะปรับปรุงทางข้ามให้มีความปลอดภัย ดังนี้

  1. ทาสีแถบทางข้ามให้ชัดเจน เห็นได้จากระยะไกล

  2. กำหนดเขตชะลอและหยุดรถ

  3. ติดตั้งแสงสว่างให้เพียงพอ

  4. ติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบ

  5. ติดตั้งกล้อง CCTV

  6. ติดตั้งป้ายสัญญาแสดงความเร็วยานพาหนะ และความเร็วที่กำหนด

  7. จุดที่มีคนข้ามจำนวนมากและถนนหลัก ติดตั้งสัญญาณไฟทางข้ามชนิดปุ่มกดพร้อมเสียงเตือน

  8. กำหนดรอบการดูแลและบำรุงรักษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทางข้ามให้พร้อมอยู่เสมอ

  9. พิจารณาเพิ่มทางข้ามบริเวณที่มีปริมาณการข้ามถนนสูงแต่ไม่มีทางม้าลาย เช่น บริเวณสถานศึกษา ตลาด สวนสาธารณะ เป็นต้น

  10. ทะลายรั่วหรือเกาะกลางที่ต่อเนื่องกับทางข้าม ปรับให้สามารถเดินข้ามได้อย่างต่อเนื่องไหลลื่น Universal Design

นอกจากนี้ กทม. ยังจะต้องเน้นให้ความสำคัญกับการพิจารณาการทำทางข้ามถนนที่สามารถใช้ได้ทุกคน ทุกสภาพร่างกาย (ยกเว้นพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านการจราจร เช่น ถนนที่มีขนาดใหญ่ มีความเร็วรถสูง)

 

*อัพเดตล่าสุด วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Investigating and improving crosswalks across Bangkok to meet safety standards

 

What will Bangkok residents get?

  - Increased safety in walking on sidewalks

  - User-friendly physical conditions of the roads, pedestrian crossings, and environments for pedestrians

 

Details

In Bangkok, there are 4,160 crossings, comprising 3,500 typical crosswalks and 660 crosswalks at intersections [1]. Taking different infrastructures into consideration, 846 crosswalks are installed with flashing traffic lights, while 226 others are equipped with pedestrian crossing buttons [2]. From these statistics, it is likely that the other 3,088 crossings do not have any traffic lights at all, an equivalent of as much as 74% of all crosswalks in Bangkok.

Previously, Bangkok Traffic and Transportation Department has been undertaking reparation projects at 700 crosswalks in school and hospital areas, but mostly they are concerned only with repainting the faded crossings [3].

According to data from National Statistical Office, 2,500-2,900 pedestrians are involved in road accident every year, with 900 or about one third of these cases taking place in Bangkok [4].

 

To protect the fundamental right of every Bangkok pedestrian to freely walk the street in the city, the BMA will improve the quality of the pavements by:

  1. Repainting crosswalks so that they are clearly visible from distance

  2. Designating slow and stop zones on the street

  3. Installing adequate lighting

  4. Installing flashing lights

  5. Installing CCTV

  6. Installing speed limit signs

  7. Installing pedestrian crossing button in areas with a large crowd of pedestrians

  8. Setting up routines of maintenance for equipment at the crossings

  9. Considering adding more crosswalks in areas with high rate of crossing but lacking in zebra crossings, such as in school or market areas

BMA will also put crosswalks with an inclusive design feature as a priority before the pedestrian bridge (unless there is a constraint in traffic safety such as wide road with high-speed traffic.)

 

* Last updated on May 5, 2022

 Improved according to public suggestions