นโยบาย chevron_right

ขยายโอกาส ขยายช่องทาง ให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok)

คนกรุงเทพฯ ได้อะไร

  - ได้สนับสนุนสินค้าสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ

  - ได้ขายสินค้ามากขึ้นในหลากหลายช่องทาง

  - ได้พัฒนาสินค้าให้ไปสู่สินค้าสร้างสรรค์

 

รายละเอียด

ปัจจุบัน Bangkok Brand ตราสัญลักษณ์สินค้าสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ ยังมีช่องทางจัดจำหน่ายที่จำกัด มีหมวดหมู่ของสินค้าที่จำกัด และไม่มีการจัดทำและเผยแพร่ฐานข้อมูลของผู้ผลิตเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ รวมทั้งผู้ผลิตยังไม่ได้ขึ้นเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และระบบ e-GP เพื่อต่อยอดการประมูลงานจากภาครัฐ 

ดังนั้น กทม.จะนำเอาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok) โดยการรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายของหมวดหมู่สินค้าให้ครบถ้วนทุกมิติความสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะการแสดง ศิลปะการออกแบบ สิ่งพิมพ์ ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ งานฝีมือ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องเขียน เครื่องหนัง เครื่องปรุง เครื่องครัว เป็นต้น และพร้อมกับสนับสนุนผู้ผลิต 

เช่น

 1. ออกแบบช่องทางจัดจำหน่ายเพิ่มเติม ทั้งการจัดกิจกรรมใน-นอกกรุงเทพฯ และต่างประเทศ ร่วมมือกับเครือข่ายร้านค้าห้างร้าน เพื่อเปิดพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าเพิ่มเติม โดยกทม.จะศึกษาตลาดสำหรับสินค้าสร้างสรรค์ คัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพ

 2. เปิดหลักสูตรให้ผู้ประกอบการนำสินค้าเข้าแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านการช่วยเหลือจากอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) 

 3. จับคู่ผู้ประกอบการต่างประเภทมาออกแบบสร้างสรรค์งานร่วมกัน เช่น สิ่งพิมพ์กับเครื่องครัวเพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ หรือของเล่นกับศิลปะการแสดง เพื่อนำตัวละครมาเป็นของเล่น เป็นต้น 

 4. จัดเวิร์กช็อปด้านผลิตภัณฑ์จากความร่วมมือของกทม.และภาคเอกชน เพื่อนำไปต่อยอดและขยายช่องทางการหารายได้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ และให้ความองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสินค้าที่ยังพัฒนาศักยภาพไม่เต็มที่

 5. จัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการสร้างสรรค์ภายในกรุงเทพฯ ให้ผู้ที่สนใจต่อยอดธุรกิจสามารถติดต่อกันได้ 

 6. สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจและ e-GP เพื่อโอกาสในการจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐและ กทม. 

 7. สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อเปิดห้างหรือร้านค้าในแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ระดับโลกเพื่อนำสินค้า MIB โกอินเตอร์ 

 8. ร่วมกันพัฒนาให้สินค้าที่ผลิตในกรุงเทพฯ มีความสร้างสรรค์ในทุกมิติ ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการสื่อสาร การเล่าเรื่อง เพื่อนำเข้าสู่ตลาดพร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ 

 9. จัดงานนิทรรศการและงานจัดแสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมสินค้าสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ

 10. สนับสนุนและให้ข้อมูลในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้าสร้างสรรค์ MIB

 11. ประเมินผลตอบรับของสินค้าทั้งจากฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ เพื่อนำไปต่อยอดและปรับปรุงในการผลิตและจำหน่ายในอนาคต

 

*อัพเดตล่าสุดวันที่ 16 มีนาคม 2565

 

หากมีข้อเสนอแนะ (คลิก)

 

Expanding opportunities and channels for Made in Bangkok (MIB) products

 

What will Bangkok residents get?

  - Chances to support products locally made in Bangkok

  - Increased volume of sales through various channels

  - Development towards creative products


Details

Currently, Bangkok Brand, a label given to certified creative products which are made in Bangkok, is still limited in its marketing scope and types of products, without a database of manufacturers which makes it hard for their businesses to expand. Moreover, most manufacturers have not registered themselves as small and medium enterprises or in e-GP system, which will allow them to bid for government projects.

 

Hence, the BMA will build on the existing pools of products, creating the Made in Bangkok (MIB) label, which comprises of collections of products made in Bangkok, in various creative forms, from performance art, design, prints, fabric and clothing, accessories, handicrafts, toys, furniture, stationery, leathery, condiments, kitchen wares, etc., while assisting manufacturers by:

  1) Collaborating with network of department stores to create more channels for sales of selected creative products, incorporating data from market research conducted by the BMA, organizing events in and outside Bangkok as well as abroad;

  2) Launching training courses for importers and online business platforms with the help of Technology Volunteers [อาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.)];

  3) Matching different manufacturers to collaborate in designing creative products; for example, a printing enterprise can be matched with a kitchen ware business to design new packaging, or a toy manufacturer can be paired with performance artists to create a new character;

  4) Hosting workshops through the collaboration of public and private sectors to build on the existing body of knowledge, creating financial possibility, as well to provide knowledge to develop incomplete products;

  5) Compiling database of creative enterprises in Bangkok, facilitating networking between businesses in different fields;

  6) Encouraging registration of small and medium enterprises and in the e-GP system to open opportunities to bid for government and BMA projects;

  7) Encouraging association of enterprises to open online shops on international online platforms, bringing MIB products to world-wide recognition;

  8) Developing the creativities of MIB labels, from the product itself to its representation and storytelling, bringing it into the market with well-thought-out strategies and public relations plans;

  9) Organizing exhibitions and expos for business owners to showcase their creative products, creating opportunities for emerging entrepreneur to learn from the success of their potential predecessors;

  10) Encouraging registration of intellectual property to create uniqueness for MIB creative products;

  11) Evaluating feedbacks from consumers and business owners for future improvement in production and distribution of products in the future.

 

* Last updated on March 11, 2022